บ้านแนะนำ
ในบริเวณที่ดิน “ฮักเจียงฮาย” เป็นพื้นที่บริเวณกว้าง โอบล้อมด้วยทุ่งนาและทิวทัศน์ภูเขา ในฤดูร้อน ฤดูฝน อาจจะมีลมกระโชกแรงในบางครั้ง การสร้างบ้านให้มีดีไซน์ที่สวยงามโดนใน ใช้สอยได้จริง ก็ต้องคำนึงถึงความแข็งแรงของโครงสร้างนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ เลย ทางฮักเจียงฮายจึงแนะนำลูกบ้าน ถ้าหากปลูกบ้านทั้งทีปลูกฐานรากให้ดีไปเลย เพื่ออนาคตข้างหน้า เช่นป้องกันแผ่นดินไหวได้ในระดับกลางถึงระดับรุนแรงให้เกิดความเสียหายกับตัวบ้านน้อยที่สุด หรือ ทำโครงสร้างบ้านต้านลม พายุ โดยการสร้างให้ยืดหยุ่นได้ดี ให้บ้านปลอดภัย และสมาชิกในบ้านอุ่นใจ ในโครงการ ” ฮักเจียงฮาย “
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเจอภัยจากลมพายุ
เมื่อพายุกำลังเริ่มโหมกระหน่ำเข้ามา คนที่อยู่นอกบ้านควรรีบเข้าไปหลบอยู่ในอาคารใกล้เคียงโดยไว หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สายไฟฟ้าที่ขาดเสาไฟฟ้าและต้นไม้ ส่วนคนที่อยู่ในบ้านก็ต้องปิดหน้าต่าง ประตูทุกบานให้แน่นสนิท รวมทั้งเตาไฟและอุปกรณ์ที่ใช้แก๊สทุกชนิด เคลื่อนตัวออกมาให้ห่างจากหน้าต่างของของบนชั้นวางที่อาจจะหล่นลงมาทับสร้างความเสียหายเอาได้
แม้บ้านของเราจะไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงประสบภัยจากลมพายุมาก่อน ก็ควรจะติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศทางวิทยุหรือโทรทัศน์ เรียนรู้วิธีการรับมือเอาไว้เป็นเกราะป้องกันภัยของตัวเอง เพราะไม่แน่ว่าวันนึงข้างหน้า บ้านของเราอาจจะกลายเป็นเหยื่อภัยธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว
เนื้อหาอ้างอิงจาก : วารสารการวิจัย Journal of Architectural Engineering หัวข้อ “การออกแบบอาคารแนวราบสำหรับเหตุการณ์พายุลม” ของศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาคาร (CSTB) ในประเทศฝรั่งเศส
ออกแบบบ้าน
ต้านพายุ
ภัยจากลมพายุที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน จะมีวิธีเตรียมตัวป้องกันและรับมือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านของเราได้อย่างไร ?
หลีกเลี่ยงการวางผังบ้านเป็นรูปตัว L หรือตัว U
เพราะเหลี่ยมมุมของผังบ้านจะให้เกิดมุมดักลม เมื่อกระแสลมไหลผ่านออกไปไม่ได้ ก็จะสะสมแรงปะทะอยู่ที่หัวมุมนั้น จนเกิดความเสียหายแก่อาคารทั้งหลัง ดังนั้นเพื่อลดแรงปะทะที่รุนแรง ควรออกแบบผังบ้านเป็นรูปเหลี่ยมครบมุมขนาดกระทัดรัด ทั้งสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม หรือรูปทรงหลายเหลี่ยม ส่วนสำคัญคือไม่ควรมีพื้นยื่นเกินออกมาก เพราะจะกลายเป็นจุดอ่อนให้ลมเข้าปะทะสร้างความเสียหาย (รูปทรงที่รับแรงปะทะได้ดีที่สุดคือทรงโดมครึ่งวงกลมและทรงกระบอก)
ใช้โครงสร้างที่มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดี
เช่น โครงสร้างเหล็กและไม้ เพราะเหล็กมีคุณสมบัติรับแรงดึงได้ดีกว่าคอนกรีตทั่วๆไป ทำให้สามารถดูดซับแรงกระทำ รักษารูปทรงให้คงสภาพอยู่ได้ ไม่แตกหักพังทลายในทันที แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย แต่ก็นับว่าเป็นหลักประกันที่ความคุ้มค่าต่อชีวิตและทรัพย์สิน ตัวอย่างที่เห็นได้คือ ที่ประเทศญี่ปุ่นเกิดภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง บ้านที่นั่นมักใช้โครงสร้างเหล็กหรือไม้เช่นกัน
หลังคาปั้นหยา (Hip) ป้องกันแรงปะทะได้ดีกว่าหลังคาแบบจั่ว (Gable)
ควรเพิ่มด้านมุมหลังคาให้ครอบคลุมพื้นที่อาคาร เพื่อรับแรงปะทะจากลมพายุรอบด้าน การออกแบบชุดหลังคาให้มีหลายแผง หลายมุมจั่วจะช่วยต้านแรงปะทะได้ดียิ่งขึ้น (จากการศึกษาหลังคาเอียงทำมุม 30 องศาป้องกันความรุนแรงได้ดีที่สุด)
สร้างช่องระบายลมขนาดเล็กใต้หลังคา ให้ต่ำลงมาประมาณ 1 เมตร
หากต้องการสร้างช่องลมไว้ช่วยลดอุณหภูมิในหน้าร้อน ก็ควรจะเลื่อนตำแหน่งลงมาประมาณ 1 เมตร จากจุดสูงสุดของหน้าจั่ว เพื่อลดความเสียหายจากแรงลมที่จะพัดผ่านเข้าไปทำลายโครงสร้างหลังคาภายใน พัดผืนหลังคาหลุดลอยไปได้
เชื่อมโครงสร้างหลังคากับเสาและผนังบ้านให้ยึดติดกันแนบสนิท แข็งแรง
เป็นการป้องกันลมพัดโครงหลังคาปลิวออกจากตัวบ้าน เลือกใช้กระเบื้องมุงแบบแผ่นเล็ก หรือมีระยะยึดเกาะถี่ๆ เพื่อเพิ่มจุดยึดเกาะที่หนาแน่นมากขึ้นบนผืนหลังคา ยอมเสียกระเบื้องแผ่นเล็กจำนวนไม่มากดีกว่าเสียกระเบื้องแผ่นยาวกินพื้นที่ และการลดความเสี่ยงโครงสร้างหลังคาเสียหาย ด้วยการปูกระเบื้องชายคาออกไปไม่เกิน 50 เซนติเมตร ลดพื้นที่รับแรงปะทะ
เชิงชายและไม้ปิดลอนช่วยได้
องค์ประกอบง่ายๆของอาคาร ที่นอกจากจะใช้เก็บความเรียบร้อยของหลังคาและป้องกันนก หนู แมลงเข้าใต้ฝ้าแล้ว ยังมีส่วนช่วยลดปริมาณลมที่จะพัดเข้าใต้หลังคาได้อีกด้วย